• โรงเรียนบ้านแม่เทย
    389 หมู่ 6 ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน 51110
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำพูน เขต 2

  • โรงเรียนบ้านแม่เทย
    389 หมู่ 6 ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน 51110
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำพูน เขต 2

  • โรงเรียนบ้านแม่เทย
    389 หมู่ 6 ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน 51110
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำพูน เขต 2

  • โรงเรียนบ้านแม่เทย
    389 หมู่ 6 ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน 51110
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำพูน เขต 2

ประวัติโรงเรียน

           ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
           โรงเรียนบ้านแม่เทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต ๒ เปิดการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๐ โดยอาศัยอาคารชั่วคราวซึ่งอยู่ติดกับโรงบ่มยาสูบบ้านแม่เทย (หมู่๑๔ บ้านแม่เทยพัฒนา) ต่อมาทางราชการได้สร้างถนนพหลโยธินผ่านด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ดังนั้นในปี ๒๕๐๐ จึงได้ย้ายโรงเรียนมาสร้างโรงเรียนใหม่ติดกับถนนพหลโยธิน หมายเลข ๑๐๖ สายลี้-ลำพูน เพื่อสะดวกในการเดินทางซึ่งในการดำเนินการในครั้งนี้นำโดย นายวิฑูรย์  ทองสวัสดิ์ ครูใหญ่และคณะครูพร้อมด้วยนายด้วง สตรอง ผู้ใหญ่บ้านกับราษฎรได้ไปนิมนต์ครูบาอภิวิชัยขาวปีเป็นประธานในการปลูกสร้างอาคารในสถานที่ตั้งใหม่ โดยมีนักเรียนจาก ๓ หมู่บ้านมาเข้าเรียนได้แก่ บ้านแม่เทย บ้านสันป่าสัก และบ้านสันวิไล  ปัจจุบันมีอาณาเขตดังนี้
           ทิศเหนือ ติดกับถนนเข้าหมู่บ้านและวัด
           ทิศใต้ ติดกับสถานีอนามัยแม่เทย
           ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำลี้
           ทิศตะวันตก ติดกับถนนพหลโยธิน หมายเลข ๑๐๖ สายลี้-ลำพูน
           โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน ๓๒ ไร่ ๒๐ ตารางวา  อาคารเรียนสร้างแบบทรงปั้นหยา จำนวน  ๖ ห้องเรียนค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๒๖,๔๓๗.๗๕ บาท ได้รับเงินจากทางราชการสมทบเป็นเงิน ๒๕,๐๐๐บาทและได้เปิดป้ายอาคารหลังนี้เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๐๗ โดยมีนายมานิตย์  ปุรณพรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธาน   ในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๐๗ มีนายหวัง  แสงทอง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ในวันที่ ๙ กันยาย ๒๕๑๕ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ก ๓ ห้องเรียน จำนวนเงิน ๑๒๐,๐๐๐บาท ในปีพ.ศ. ๒๕๑๖  ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างบ้านพักครู ๑ หลังแบบกรมสามัญจำนวนเงิน ๒๕,๐๐๐บาท  ปี พ.ศ.๒๕๑๘  ได้รับงบประมาณจำนวน ๑๒๔,๐๐๐ บาท ในการต่อเติมอาคารเรียนอีก ๒ ห้องและสร้างบ้านพักครู อีก ๒ หลังแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด และได้รับงบประมาณสร้างส้วมขนาด ๕ ที่นั่งจำนวน  ๑ หลัง ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙   ได้รับงบประมาณ ๘๕,๐๐๐บาท  ในการสร้างอาคารเรียนโรงฝึกงานและได้รับงบประมาณสร้างส้วมขนาด ๕ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลัง ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับงบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ก จำนวน ๓ ห้องเรียนและบ้านพักครูแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัดอีก ๑ หลังในปีงบประมาณ ๒๕๒๕     ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ในการก่อสร้างอาคารเรียน แบบสปช.๑๐๒/๒๖ ขนาด ๓ ห้องเรียนในวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ในปีพ.ศ.๒๕๒๖   ได้รับงบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐บาท สร้างสนามบาสเกตบอล ๑สนามและสร้างส้วม แบบสปช. ขนาด ๔ ที่นั่ง ในปีการศึกษา ๒๕๓๔   โรงเรียนบ้านแม่เทยได้เข้าโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในปีงบประมาณ ๒๕๓๔  ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบสปช.๖๐๑/๒๖ ขนาด ๔ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลังทดแทนหลังเดิมที่ประสบวาตภัยที่เกิดขึ้นในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๕ ได้เกิดวาตภัย มีผลทำให้อาคารอเนกประสงค์และบ้านพักครูถูกพายุพัดพังเสียหายไม่สามารถซ่อมแซมได้จึงของบประมาณสร้างทดแทน 
           ปีพ.ศ.๒๕๕๓ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีประจำตำบล  รุ่น ๑   ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียนดีประจำตำบล ระยะ ๔  ปี(พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๖)  และดำเนินการต่อเนื่อง ปี(พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๐) และปี(พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๕)  โดยกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณ ๑๔,๔๐๑,๒๓๐ บาท ลดลง ๑๒๖,๗๐๐บาทคงเหลือ ๑๔,๒๗๔,๕๓๐ บาท  ดังนี้
           ๑) รายการวัสดุรวม  ๒๘๓,๔๐๐บาท ประกอบด้วยวัสดุสื่อ ๑๘๓,๔๐๐บาท วัสดุอาชีพ  ๑๐๐,๐๐๐บาท
           ๒) รายการครุภัณฑ์ ๒,๘๐๖ ,๖๐๓บาท ปรับลด ๑,๕๐๐บาท เหลือ ๒,๘๐๕,๑๐๓บาท ดังนี้รายการพิเศษครุภัณฑ์ ห้องสมุด  ๔๐๓,๖๓๐บาท   รายการพิเศษครุภัณฑ์ ดนตรี ๓๐๐,๓๐๐บาท รายการปกติครุภัณฑ์อาชีพ ๘๒๒,๕๐๐ บาท รายการปกติครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติกา ร๘๕๔,๙๐๐บาท รายการปกติครุภัณฑ์พัฒนาวิชาการ ๔๒๕,๓๐๐บาท ปรับลดเหลือ ๔๒๓,๘๐๐บาท
           ๓)งบก่อสร้าง  ประกอบด้วย
                      ๓.๑) งบปกติ  งบประมาณ ๒,๗๐๐,๒๐๐บาท ปรับลด ๑๙,๒๐๐บาท เหลือ ๒,๖๘๑,๒๐๐บาท  ดำเนินการพัฒนาภูมิทัศน์๑,๙๙๘,๕๐๐บาท และสร้างศูนย์อาชีพ(อาคารอเนกประสงค์ ๒๐๓/๒๖)๗๐๑,๗๐๐บาท ปรับลด๑๙,๒๐๐บาท เหลือ ๖๘๒,๕๐๐บาท 
                      ๓.๒) งบพิเศษ งบประมาณ ๘,๖๑๑,๐๐๐บาท ปรับลด ๑๐๖,๐๐๐บาท เหลือ ๘,๕๐๕,๐๐๐บาท ประกอบด้วย ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๕/๒๙ ปรับปรุง งบประมาณ ๒,๗๗๓,๕๐๐บาท และสร้างศูนย์กีฬา (โรงอาหารและหอประชุม ๑๐๐/๒๗) งบประมาณ ๕,๘๒๐,๔๐๐ บาท ปรับลด ๑๐๖,๐๐๐บาทเหลือ ๕,๗๑๔,๔๐๐บาท             
           ปีพ.ศ.๒๕๕๕  เป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์  , รับตราพระราชทาน“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”รอบ ๑ ปีการศึกษา๒๕๕๕-๒๕๕๗
            ปีพ.ศ.๒๕๕๖  เป็นโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สพป.ลำพูน ๒ ,สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง พ.ศ.๒๕๕๖”    ผ่านการประเมินโรงเรียนดีประจำตำบล รุ่น ๑ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต ๒  สพฐ. พ.ศ.๒๕๕๖  และได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการจัดทำ VTR  การเปิดโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล ระดับประเทศ  และผ่านการประเมินโรงเรียนดีประจำตำบล ยั่งยืน ปีการศึกษา ๒๕๖๐  ,โรงเรียนแกนนำห้องสมุดมีชีวิตและโรงเรียนแกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  ,โรงเรียนได้รับการรับรองการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ ๓ จากสมศ. ระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ,โรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 
            ปีพ.ศ.๒๕๕๗  เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง ปีการศึกษา ๒๕๕๘-๒๕๖๐  และ โรงเรียนที่ส่งเสริมครูเข้ารับการพัฒนา UTQ Online ครบทุกคน
           ปีพ.ศ.๒๕๕๘  เป็นโรงเรียนที่ได้รับเกียรติบัตรเป็นองค์กรนำร่องดีเด่นด้านการควบคุมโรคอาหารเป็นพิษแบบมีส่วนร่วมและร่วมรณรงค์เนื่องในวันแม่แห่งชาติ   ,เป็นโรงเรียนแกนนำในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนและเตรียม ความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติของ ,โรงเรียนได้รับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”  รอบ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘-๒๕๖๐  ,โรงเรียนวิถีพุทธ สพป.ลำพูน ๒  ,โรงเรียนปลอดนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ระดับ ป.๑-๖ สพป.ลำพูน ๒ , โรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET  ระดับชั้น ม.๓ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทั้ง ๕ สาระการเรียนรู้  และมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET   เป็นอันดับที่ ๑  ของสพป.ลำพูน ๒
           ปีพ.ศ.๒๕๕๙   เป็นโรงเรียนดีประจำตำบล ยั่งยืน สพฐ. ,โรงเรียนประชารัฐ(ดีใกล้บ้าน) รุ่น ๑ และนำเสนอVTR การดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ(ดีใกล้บ้าน) ของสพป.ลำพูน ๒   , โรงเรียนที่มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ อ่านออกเขียนได้ทุกคน   ,โรงเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET  ระดับชั้น ม.๓  สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทั้ง ๓ สาระการเรียนรู้  และเป็นอันดับที่ ๑  ของ สพป.ลำพูน ๒  ,รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ ๑ การประกวดโรงเรียนรักการอ่าน สพป.ลำพูน ๒   , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การประกวดโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สพป.ลำพูน ๒
            ปีพ.ศ.๒๕๖๐ เป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบสารสนเทศ(DLIT) โรงเรียนมีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ได้แก่ โรงเรียนประชารัฐ(ดีใกล้บ้าน) ,การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กและการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบสารสนเทศ(DLIT)  งาน Academic  Symposium ๒๐๑๗  สพป.ลำพูน ๒ ,โรงเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET  ระดับชั้น ม.๓ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทั้ง ๔ สาระการเรียนรู้  และเป็นอันดับที่ ๑  ของ สพป.ลำพูน ๒
           ปีพ.ศ.๒๕๖๑ เป็นโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน สพป.ลำพูน ๒ ,โรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน  สพป.ลำพูน ๒ ,เป็นศูนย์อบรมโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย สพป.ลำพูน ๒   ,ได้รับรางวัล ๑ โรงเรียน ๑ นวัตกรรม “รางวัลเหรียญทอง ระดับภูมิภาค” และ  “เหรียญทองแดง”ระดับประเทศ และเป็นศูนย์อบรมทางไกลการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา STEM Education หน่วย สพฐ.๑๐๐  ,โรงเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET  ระดับชั้น ม.๓  สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทั้ง ๔ สาระการเรียนรู้  และเป็นอันดับที่ ๑  ของ สพป.ลำพูน ๒
           ปีพ.ศ.๒๕๖๒ เป็นศูนย์อบรมทางไกลการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา STEM Education หน่วย สพฐ.๑๐๐ ,เป็นที่ทำการศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย โดยมีโรงเรียนจาก ๒ ตำบล ประกอบด้วย ตำบลแม่ตืน จำนวน ๘ โรงเรียนได้แก่  โรงเรียนบ้านวงศ์ษาพัฒนา  โรงเรียนบ้านแม่แนต โรงเรียนบ้านแม่เทย  โรงเรียนบ้านสันวิไล  โรงเรียนบ้านสันป่าสัก  โรงเรียนบ้านวังมนและโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืน และตำบลศรีวิชัย จำนวน ๔ โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนบ้านแม่ป้อก  โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน โรงเรียนบ้านห้วยบงและโรงเรียนบ้านปาง
โรงเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET  ระดับชั้น ป.๖ และ ม.๓  สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทั้ง ๔ สาระการเรียนรู้  และผลการทดสอบความสามารถผู้เรียน NT ป.๓ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ทั้งสองสมรรถนะ
           ปีพ.ศ.๒๕๖๓ เป็นโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ  ,ศูนย์อบรมทางไกลสะเต็มศึกษา หน่วย สพฐ. ๑๔๕

           สำหรับข้อมูลในปีการศึกษา ๒๕๖๓  มีนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน  ๒๕๖  คน มีข้าราชการครู  จำนวน ๑๗ คน ครูมาช่วยราชการ จำนวน ๑ คน 
ครูธุรการโรงเรียน จำนวน ๑ คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ  จำนวน ๑ คน  ครูอัตราจ้าง จำนวน ๒ คนโดยมี ดร.ธราธร  ตันวิพงษ์ตระกูล ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน